Home | ซีรีส์การลงทุน | Elliot Wave จากนักบัญชีสู่ผู้สร้างทฤษฎีเอลเลียตที่โด่งดัง

จากนักบัญชีสู่ผู้สร้างทฤษฎี Elliot Wave ที่โด่งดัง และชื่อของเขาคือ ราล์ฟ เนลสัน เอลเลียต

ทฤษฎีคลื่นเอลเลียตถูกสร้างขึ้นโดยราล์ฟ เนลสัน เอลเลียต เพื่อใช้เป็นแนวทางในการอธิบายลักษณะการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นในรูปแบบคลื่นซ้ำ ๆ หรือรูปแบบที่มีลักษณะเฉพาะ จนกลายเป็นเครื่องมือในการทำนายการเคลื่อนไหวของตลาดในอนาคต ต่อมาได้มีการอธิบายทฤษฎีนี้เพื่อพยายามทำให้มันเหมาะสมสำหรับการซื้อขายตามยุคสมัยมากขึ้น แต่กว่าที่ราล์ฟจะค้นพบทฤษฏีนี้ก็ต้องใช้เวลาหลายสิบปี และยังอยู่ในช่วงเวลาท้าย ๆ ของชีวิต


ราล์ฟ เนลสัน เอลเลียต เป็นคนเมืองแมรีส์วิลล์ รัฐแคนซัส สหรัฐอเมริกา ต่อมาย้ายไปอยู่ที่ซานอันโตนิโอ รัฐเท็กซัส เขาเข้าสู่สายงานบัญชีในช่วงกลางทศวรรษที่ 1890 ก่อนจะกลายเป็นผู้บริหารให้กับบริษัทรถไฟในอเมริกากลางและเม็กซิโก เมื่องานดีเขาก็หาคู่ครอง ราล์ฟแต่งงานกับ แมรี่ อลิซาเบธ จากนั้นเขาก็ย้ายกลับไปสหรัฐอเมริกา และได้รับการว่าจ้างจากกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ให้ดำเนินการบริการด้านบัญชี (และการปรับโครงสร้างทางการเงิน) ให้กับนิการากัว (อยู่ภายใต้การควบคุมของสหรัฐฯในเวลานั้น)

ไม่นานหลังจากนั้น ราล์ฟเขียนหนังสือสองเล่มเกี่ยวกับประเด็นทางสังคมและเศรษฐกิจในอเมริกากลางที่เกิดจากประสบการณ์ของเขาที่อยู่ที่่นั่นหลายปี

ย้อนกลับไปตอนที่เขายังทำงานในอเมริกากลาง เขามีอาการป่วยจากเชื้ออะมีบาฮิสโตไลติกา เขาจึงทนทุกข์ทรมานมาโดยตลอด ซึ่งท้ายที่สุดทำให้เขาต้องเกษียณอายุก่อนกำหนดเมื่ออายุ 58 ปี ซึ่งในช่วงหลายปีที่ต้องทนทุกข์กับการเจ็บป่วย เขาก็พบกับอุปสรรคในชีวิตอีกครั้ง เพราะเสียเงินจำนวนมากจากให้กับเหตุการณ์ตลาดหุ้นสหรัฐล่มสลายในปี 1929 และนี่จึงกลาายเป็นจุดเริ่มต้นในการอุทิศตัวเองเพื่อศึกษาพฤติกรรมของตลาดหุ้นสหรัฐฯ

หลังจากศึกษาข้อมูลดัชนีตลาดหุ้นย้อนหลัง 75 ปี (รวมถึงแผนภูมิรายปี รายเดือน รายสัปดาห์ รายวัน รายชั่วโมง และแม้แต่ครึ่งชั่วโมง) เลยทำให้เขาตีพิมพ์หนังสือเล่มที่สามของเขา (ร่วมกับชาร์ลส์ เจ. คอลลินส์) ชื่อ The Wave Principle (ในเดือนสิงหาคม 1938) ในเรื่องนี้เอลเลียตสนับสนุนแนวคิดที่ว่า “แม้แนวโน้มของตลาดหุ้นอาจดูเหมือนการสุ่มและคาดเดาไม่ได้ แต่จริง ๆ แล้วมันเป็นไปตามกฎธรรมชาติที่เราคาดการณ์ได้ และสามารถวัดได้โดยใช้ตัวเลขฟีโบนัชชี”


เขายังเชื่ออีกว่าผู้คนต้องผ่านวัฏจักรทางอารมณ์ ตั้งแต่การมองโลกในแง่ร้ายไปจนถึงการมองโลกในแง่ดีอย่างสุดขั้ว อันจะส่งผลต่อตลาดหุ้น

ภายในหนึ่งปีหลังจากตีพิมพ์ The Wave Principle ชื่อของเขาก็โด่งดัง จนได้รับเชิญให้เขียนบทความ 12 ชิ้นเพื่อลงในนิตยสาร Financial World ซึ่งเขาได้ทำการอธิบายระบบใหม่ของเขาในการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด

ทศวรรษต่อมา (ในช่วงต้นทศวรรษ 1940) เขาก็ทำสิ่งที่ล้ำกว่าเดิม เขาเชื่อว่าทฤษฏีของเขาสามารถนำไปใช้กับพฤติกรรมมนุษย์ได้ มีการขยายทฤษฎี และนั่นจึงนำไปสู่ผลงานล้ำยุคที่ราล์ฟเชื่อว่านี่คือหนังสือที่สำคัญที่สุดของตัวเอง มันมีชื่อว่า Nature’s Law — The Secret of the Universe ซึ่งตีพิมพ์ในเดือนมิถุนายน 1946 (2 ปีก่อนที่เขาจะเสียชีวิต)

กระทั่งปี 1948 ราล์ฟ เนลสัน เอลเลียต เสียชีวิตด้วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจ หากแต่ผลงานเขายังคงอยู่ จนกลายเป็นมรดกล้ำค่าให้นักลงทุนในปัจจุบัน แต่ก่อนที่ปี 2008 จะมีนักลงทุนในวอลสตรีทจะมาทำการปรับปรุงการใช้เทคนิค Elliot Wave ให้ดีขึ้นตามยุคสมัย แต่ถึงอย่างนั้นเราเองก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ราล์ฟ เนลสัน เอลเลียต คือ คนสำคัญของโลกแห่งการลงทุนที่ชื่อของเขายังคงถูกพูดถึง และแอดเชื่อว่ามันจะยืนยาวอีกต่อไป
ราล์ฟ เนลสัน เอลเลียต

ralph elliott wave